หัวข้อ   “ประเมินผลงาน 6 เดือน รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ”
ประเมิลผลงานครบ 6 เดือนรัฐบาล คะแนนลดลงทุกด้าน
พอใจการทำงานรัฐบาล เฉลี่ย 6.20 คะแนน จากเดิม 6.52
พอใจการทำงาน พล.อ.ประยุทธ์ นายกรัฐมนตรี เฉลี่ย 7.26 คะแนน จากเดิม 7.43
และเห็นควรให้ พล.อ.ประยุทธ์ ปรับครม.
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 เนื่องด้วยในเดือนกุมภาพันธ์นี้ รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี จะบริหารประเทศครบ 6 เดือน กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัย
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง
“ประเมินผลงาน 6 เดือน รัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา” โดยเก็บข้อมูล
จากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 1,158 คน จากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ พบว่า
 
                  ประชาชนให้คะแนนความพึงพอใจในการบริหารงานของรัฐบาล
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา เฉลี่ย 6.20 คะแนน
จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
ซึ่งลดลงจากการประเมินการทำงานรอบ 3 เดือน
รัฐบาลที่ได้ 6.52 คะแนน และลดลงจากการทำงานครบ 3 เดือน คสช.ที่ได้
6.90 คะแนน โดยการประเมินครั้งนี้รัฐบาลได้คะแนนมากที่สุดในด้านความมั่นคง
ของประเทศ 7.11 คะแนน และได้คะแนนน้อยที่สุดในด้านเศรษฐกิจ 5.58 คะแนน
 
                 สำหรับความพึงพอใจต่อการปฏิบัติหน้าที่ ในฐานะนายกรัฐมนตรี
ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาได้คะแนนเฉลี่ย
7.26 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
ซึ่งลดลงจากการประเมินรอบ 3 เดือน
ที่ได้ 7.43 คะแนน และลดลงจากเมื่อครั้งครบรอบ 3 เดือนหัวหน้า คสช. ที่ได้
7.76 คะแนนโดยการประเมินครั้งนี้นายกรัฐมนตรีได้คะแนนมากที่สุดในด้าน
ความเด็ดขาดกล้าตัดสินใจ 7.89 คะแนน และได้คะแนนน้อยที่สุดในด้านความสามารถ
สร้างสรรค์ผลงานหรือโครงการใหม่ๆ 6.13 คะแนน
 
                  เมื่อให้เปรียบเทียบผลงานในช่วง 6 เดือน ที่ผ่านมากับความคาดหวังเมื่อทราบว่า พล.อ.ประยุทธ์
จันทร์โอชา มาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ประชาชนร้อยละ 44.8 ระบุว่าผลงานดีกว่าที่คาดหวังไว้
รองลงมา
ร้อยละ 27.4 ระบุว่า ผลงานพอๆ กับที่คาดหวังไว้ และมีเพียงร้อยละ 8.4 เท่านั้นที่ระบุว่าผลงานแย่กว่าที่คาดหวังไว้
ที่เหลือร้อยละ 19.4 ระบุว่าไม่ได้คาดหวังไว้
 
                 เมื่อถามว่า “พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ควรปรับ ครม.หรือไม่ ประชาชนร้อยละ 39.4 เห็นว่าควรปรับครม. รองลงมาร้อยละ 36.2 เห็นว่าไม่ควรปรับครม. ที่เหลือร้อยละ 24.4 ไม่แน่ใจ
 
                 สุดท้ายเมื่อถามว่า “หากวันนี้ ท่านมีสิทธิออกเสียงเลือกนายกรัฐมนตรี ท่านจะออกเสียงสนับสนุน
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีหรือไม่”
พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 68.7 จะออกเสียง
สนับสนุน
ขณะที่ร้อยละ 12.6 จะไม่ออกเสียงสนับสนุน ที่เหลือร้อยละ 18.7 งดออกเสียง ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบกับ
การทำงานครบ 3 เดือนรัฐบาลและครบ 3 เดือนคสช. พบว่า เสียงสนับสนุนลดลงเท่ากับร้อยละ 6.3 และร้อยละ 11.8
ตามลำดับ
 
 
                  โปรดพิจารณารายละเอียดดังต่อไปนี้
 
             1. คะแนนความพึงพอใจ ที่มีต่อการบริหารประเทศของรัฐบาล ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา
                 ได้คะแนนเฉลี่ย 6.20 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน


ด้านที่ทำการประเมินความพึงพอใจ
คะแนนความพึงพอใจ (เต็ม10 คะแนน)
ครบ 3 เดือน
คสช.
ครบ 3 เดือน รัฐบาล
ครบ 6 เดือน รัฐบาล
เพิ่มขึ้น /
ลดลง
ด้านความมั่นคงของประเทศ
7.69
7.30
7.11
-0.19
ด้านการบริหารจัดการ
และการบังคับใช้กฎหมาย
7.44
6.96
6.57
-0.39
ด้านสังคมและคุณภาพชีวิต
7.00
6.42
6.12
-0.30
ด้านการต่างประเทศ
6.00
6.01
5.60
-0.41
ด้านเศรษฐกิจ
6.34
5.89
5.58
-0.31
คะแนนเฉลี่ย
6.90
6.52
6.20
-0.32

               หมายเหตุ การสุ่มตัวอย่างในการสำรวจแต่ละครั้งใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน ด้วยข้อคำถามแบบเดียวกัน
                            แต่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียวกัน
 
 
             2. คะแนนความพึงพอใจการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะนายกรัฐมนตรี ของพล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา
                 ได้คะแนนเฉลี่ย 7.26 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน


ด้านที่ทำการประเมิน
ความพึงพอใจ
คะแนนความพึงพอใจ (เต็ม10 คะแนน)
ครบ 3 เดือน
หัวหน้า คสช.
ครบ 3 เดือน
นายกรัฐมนตรี
ครบ 6 เดือน
นายกรัฐมนตรี
เพิ่มขึ้น /
ลดลง
ความเด็ดขาด กล้าตัดสินใจ
8.39
8.04
7.89
-0.15
ความซื่อสัตย์สุจริต
7.76
7.69
7.58
-0.11
ความขยันทุ่มเทในการทำงาน
เพื่อแก้ปัญหา ของประเทศ
8.12
7.55
7.50
-0.05
การรักษาผลประโยชน์ส่วนรวม
ของประเทศชาติ
7.84
7.61
7.41
-0.20
ความสามารถในการบริหารจัดการ
ตามอำนาจหน้าที่ ที่มี
7.67
7.27
7.04
-0.23
ความสามารถสร้างสรรค์ผลงาน
หรือโครงการใหม่ๆ
6.79
6.41
6.13
-0.28
คะแนนเฉลี่ย
7.76
7.43
7.26
-0.17

               หมายเหตุ การสุ่มตัวอย่างในการสำรวจแต่ละครั้งใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน ด้วยข้อคำถามแบบเดียวกัน
                            แต่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียวกัน
 
 
             3. เปรียบเทียบผลงานในช่วง 6 เดือน ที่ผ่านมา กับความคาดหวังเมื่อทราบว่า
                 พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา มาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี


 
ร้อยละ
ดีกว่าที่คาดหวังไว้
44.8
พอๆ กับที่คาดหวังไว้
27.4
แย่กว่าที่คาดหวังไว้
8.4
ไม่ได้คาดหวังไว้
19.4
 
 
             4. ข้อคำถาม “พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ควรปรับ ครม.หรือไม่”

 
ร้อยละ
ควรปรับ
39.4
ไม่ควรปรับ
36.2
ไม่แน่ใจ
24.4
 
 
             5. ข้อคำถาม “หากวันนี้ ท่านมีสิทธิออกเสียงเลือกนายกรัฐมนตรี ท่านจะออกเสียง
                 สนับสนุน พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีหรือไม่”


ครบ 3 เดือน
หัวหน้า คสช.
(ร้อยละ)
ครบ 3 เดือน
นายกรัฐมนตรี
(ร้อยละ)
ครบ 6 เดือน
นายกรัฐมนตรี
(ร้อยละ)
เพิ่มขึ้น/
ลดลง
(ร้อยละ)
สนับสนุน
80.5
75.0
68.7
-6.3
ไม่สนับสนุน
8.0
12.6
12.6
เท่าเดิม
งดออกเสียง
11.5
12.4
18.7
+6.3
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                 เพื่อวัดความพึงพอใจของประชาชนต่อการทำหน้าที่ของรัฐบาลและนายกรัฐมนตรี ในการบริหารประเทศ
ครบ 6 เดือน รวมถึงความคาดหวังต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะนายกรัฐมนตรี และความเห็น
ต่อการปรับ ครม. เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์
ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Simple Random Sampling แล้วใช้วิธีการ
ถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                 ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน
ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) แล้วได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์
ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 23 – 25 กุมภาพันธ์ 2558
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 28 กุมภาพันธ์ 2558
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
592
51.1
             หญิง
566
48.9
รวม
1,158
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
176
15.2
             31 – 40 ปี
307
26.5
             41 – 50 ปี
318
27.5
             51 – 60 ปี
242
20.9
             61 ปีขึ้นไป
115
9.9
รวม
1,158
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
760
65.6
             ปริญญาตรี
323
27.9
             สูงกว่าปริญญาตรี
75
6.5
รวม
1,158
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
167
14.4
             ลูกจ้างเอกชน
274
23.7
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
470
40.6
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
57
4.9
             ทำงานให้ครอบครัว
2
0.2
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
147
12.7
             นักเรียน/ นักศึกษา
33
2.9
             ว่างงาน/ รอฤดูกาล/ รวมกลุ่ม
8
0.6
รวม
1,158
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776